WEB FONT : ตัวอย่าง Web Font ฟอนต์ภาษาไทย โดย WebDesigner.in.th

ฟอนต์ QUARK BOLD

h1

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 48px;
font-weight: bold;
h1

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 48px;
font-weight: normal;
h1

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 48px;
font-weight: normal;
letter-spacing: -1px;
h2

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 40px;
font-weight: bold;
h2

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 40px;
font-weight: normal;
h2

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 48px;
font-weight: normal;
letter-spacing: -1px;
h3

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 30px;
font-weight: bold;
h3

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 30px;
font-weight: normal;
h3

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 48px;
font-weight: normal;
letter-spacing: -1px;
h4

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 28px;
font-weight: bold;
h4

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 28px;
font-weight: normal;
h4

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

font-size: 48px;
font-weight: normal;
letter-spacing: -1px;
h5
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
font-size: 26px;
font-weight: bold;
h5
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
font-size: 26px;
font-weight: normal;
h5
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
font-size: 48px;
font-weight: normal;
letter-spacing: -1px;
h6
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
font-size: 24px;
font-weight: bold;
h6
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
font-size: 24px;
font-weight: normal;
h6
รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
font-size: 48px;
font-weight: normal;
letter-spacing: -1px;

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ประวัติความเป็นมา

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (อู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ-พญาไท-ดอนเมือง) (อังกฤษ: Suvarnabhumi Airport Rail Link, Airport Link) หรือ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ หรือ แอร์พอร์ตลิงก์ หรือชื่อโครงการอย่างเป็นทางการว่า โครงการระบบขนส่งมวลชนทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และสถานีรับ-ส่งผู้โดยสารอากาศยานกรุงเทพมหานคร เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษ ที่เป็นส่วนหนึ่งในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าในระบบรถไฟฟ้าชานเมือง โดยรัฐบาลได้นำโครงการนี้มาเป็นโครงการเร่งด่วนและแยกการก่อสร้างต่างหากจากระบบรถไฟฟ้าชานเมือง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการระบบขนส่งมวลชนทางราง ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์โดย บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม อีกทั้งยังเป็นบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยตรง เนื่องจากคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (บอร์ด รฟท.) ชุดเก่านั้นไม่ยินยอมที่จะให้เอกชนเข้ามาดำเนินการแทน

 

ความคืบหน้า

รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ เปิดให้บริการเต็มรูปแบบทั้งระบบรวมถึงระบบ In town Check-in วันอังคารที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2554 โดย นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคม ได้เข้าไปตรวจสอบความพร้อมของจุดเช็คอินและระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าที่สถานีมักกะสันเมื่อวันที่ 19 ธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งระบบทุกอย่างพร้อมให้บริการแล้ว โดยสามารถใช้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคมเป็นต้นไป ซึ่งสายการบินที่มาเปิดจุดเช็คอินคือ การบินไทย ลุฟต์ฮันซา และ บางกอกแอร์เวย์ โดยครอบคลุมเส้นทางบินกว่า 40 แห่ง และจะเริ่มใช้อัตราค่าบริการปกติในวันดังกล่าว (City Line 15-45 บาทคิดตามระยะทาง/Express Line เที่ยวละ 150 บาท)

 

การเปิดให้บริการ

การเปิดให้บริการฟรี

ในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2553 รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีกำหนดเปิดให้บริการฟรี ในเวลา 07.00 - 10.00 น. และ 16.00 - 19.00 น. โดยมีความถี่ในการเดินรถ 20 นาที ให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ เว้นวันเสาร์ - อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์

การเปิดให้บริการในเชิงพาณิชย์

วันที่ 23 สิงหาคม การรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดให้บริการในเชิงพานิชย์อย่างเต็มรูปแบบ ตั้งแต่เวลา 06.00 - 24.00 น. โดยจะคิดค่าโดยสารเบื้องต้นคือ รถไฟฟ้าปกติ 15 บาทตลอดสาย และรถไฟด่วนพิเศษ (Express line) ไป-กลับ 100 บาท โดยสามารถรองรับผู้โดยสารได้ประมาณ 50,000 คนต่อวัน[6]

 

ผลกระทบหลังเปิดให้บริการ

รถไฟฟ้าบีทีเอส

บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอสกล่าวว่า หลังจากรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์เปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ไปเมื่อวันที่ 23 สิงหาคมที่ผ่านมา ทำให้ยอดผู้ใช้บริการที่สถานีพญาไทเพิ่มขึ้น 10% จากเดิม 25,000 - 30,000 คน เพิ่มขึ้นราว 2,500 - 3,000 คน ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่เดินทางมาเพื่อต่อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ที่สถานีพญาไทที่เป็นต้นทาง แต่กลับกันยอดผู้โดยสารที่สถานีพระโขนง และสถานีอ่อนนุชกลับลดลงเฉลี่ย 1,000 คนต่อวัน เพราะผู้ใช้บริการหันไปใช้บริการที่สถานีรามคำแหง (ตรงแยกคลองตัน) แทน

กลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่สาธารณะที่ท่าอากาศยานฯ

มีการร้องเรียนจากกลุ่มผู้ขับรถแท็กซี่ว่าหลังจากการเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์ในอัตราค่าโดยสารพิเศษ ทำให้ผู้ใช้บริการแท็กซี่ลดลงอย่างมาก เพราะว่าส่วนใหญ่จะหนีการจราจรไปขึ้นรถไฟฟ้าแทนเพราะประหยัดเวลาและค่าโดยสารถูก จนเกิดเหตุการณ์ที่กลุ่มผู้ขับแท็กซี่บุกเข้าไปรื้อป้ายบอกทางออก[8] ขณะที่บางคนเห็นว่าคนที่มีสัมภาระมากและมีขนาดใหญ่ จะยังใช้บริการรถแท็กซี่เหมือนเดิม เพราะไม่สะดวกที่จะขนสัมภาระขึ้นรถไฟฟ้า

ผู้ให้บริการทัวร์ และโรงแรม

นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย กล่าวว่า สมาคมคงจะมีการตั้งเคาน์เตอร์ภายในสถานีมักกะสันเพื่ออำนวยความสะดวกและดูแลนักท่องเที่ยวให้ได้รับความสะดวกขึ้น ซึ่งคงใช้พื้นที่ขนาด 15 ตารางเมตร เพื่อให้โรงแรมต่างๆ สามารถมารับลูกค้าที่นี่ได้ แต่ก็ยอมรับว่า ภาคเอกชนยังมีความเป็นห่วงในเรื่องของบริการ เนื่องจากยังเสี่ยงอยู่ที่จะให้ลูกค้าหรือนักท่องเที่ยวไปใช้บริการ เพราะยังไม่สะดวก แต่ช่วยในเรื่องเวลาได้มาก เหมือนสิงคโปร์ ฮ่องกง และเห็นว่าถ้าเป็นกรุ๊ปทัวร์ขนาดใหญ่มีกระเป๋าสัมภาระมาก คงไม่ไปใช้บริการ แต่จะเหมาะสำหรับนักธุรกิจหรือผู้โดยสารที่เดินทางมาเอง และที่ต้องการเดินทางเข้าเมืองด้วยความรวดเร็วเท่านั้น

แสดงผลส่วนเนื้อหาด้วย Web Font

font-size: 18px;
line-height: 1.5em;

รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เริ่มก่อสร้างโครงการเมื่อ พ.ศ. 2549 (ค.ศ. 2006) และหลังจากที่เกิดความล่าช้าขึ้นในหลายต่อหลายครั้ง ทั้งในเรื่องข้อสรุปของผู้ดำเนินการรถไฟฟ้า ความปลอดภัยโดยรวมของทั้งระบบ รวมไปถึงการที่ผู้รับเหมาไม่ยอมเซ็นต์โอนโครงการให้เป็นของการรถไฟแห่งประเทศไทย และความล่าช้าในการก่อตั้งบริษัทดำเนินการ จนในที่สุดรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ก็เริ่มดำเนินการเปิดทดสอบแบบวงจำกัดครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งการทดสอบดังกล่าวผู้เข้าร่วมทดสอบจะไม่สามารถเข้าไปในเขตของท่าอากาศยานสุวรรณภูมิได้ จากนั้นก็ได้เปิดทดสอบแบบไม่จำกัดจำนวนอีกครั้งในวันที่ 5 ธันวาคม-7 ธันวาคม พ.ศ. 2552 ซึ่งเป็นการทดสอบของระบบการเดินรถอัตโนมัติอีกด้วย จากนั้นก็ได้ทดสอบระบบกับสื่อมวลชนกลุ่มเล็กๆ เรื่อยมาจนถึงช่วงเดือนเมษายน พ.ศ. 2553 ซึ่งจะเป็นกำหนดการเปิดทดสอบการเดินรถทั้งระบบอย่างเป็นทางการ แต่เนื่องจากช่วงเวลาดังกล่าว ได้เกิดเหตุวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้น ทำให้ต้องเลื่อนการทดสอบจริงออกไปเป็นวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ซึ่งดำเนินการเปิดทดสอบฟรีในช่วงเช้าและเย็น จากนั้นก็ได้ทำการเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ที่ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอยู่ในขณะนั้นเป็นประธานในพิธีเปิดรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

โดยรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิเป็นระบบรถไฟฟ้าที่มีทั้งโครงสร้างใต้ดินและยกระดับ มีแนวเส้นทางที่รองรับการเดินทางจากชานเมืองด้านตะวันออกและทิศเหนือ และผู้โดยสารจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เข้าสู่เขตใจกลางเมืองได้ เริ่มต้นจากภายในเขตท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ จากนั้นวิ่งเลียบทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 ตามแนวทางรถไฟสายตะวันออก แล้วเริ่มเข้าสู่เขตเมืองที่ย่านรามคำแหง, รัชดาภิเษก, ศูนย์คมนาคมมักกะสัน, พญาไท แล้วเข้าสู่เขตพระราชฐานที่บริเวณสวรรคโลก, เข้าสู่ศูนย์คมนาคมบางซื่อ และวิ่งเลียบถนนวิภาวดี-รังสิต แล้วไปยังท่าอากาศยานดอนเมืองทางด้านเหนือ รวมระยะทางทั้งโครงการในปัจจุบัน 28.6 กิโลเมตร

สำหรับยอดผู้ใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์เต็มรูปแบบวันแรกเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2553 มีผู้โดยสารใช้บริการในระบบซิตี้ไลน์ 26,149 คน จากเป้าที่ตั้งไว้ 15,000 คน ส่วนรถด่วนมีผู้ใช้บริการ 633 คน ทั้งนี้คาดว่าสิ้นปีนี้จะมีผู้ใช้บริการประมาณ 5-7 หมื่นคน [3]

ปัจจุบันเส้นทางสายสุวรรณภูมิมีโครงการก่อสร้างส่วนต่อขยายทั้งเส้นทางใต้ดินแบบคลองแห้งและยกระดับ จากปลายทางด้านทิศตะวันตก (สถานีพญาไท) ไปยังศูนย์คมนาคมบางซื่อและท่าอากาศยานดอนเมือง และจากทางด้านทิศตะวันออก (สถานีลาดกระบัง) ไปยังเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา, จังหวัดชลบุรี และเดินทางไปถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา และเมืองพัทยาได้ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในระหว่างการออกแบบโครงการส่วนต่อขยายใหม่ทั้งหมด โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างส่วนต่อขยายทางด้านทิศตะวันตกพร้อมๆ กับการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อก่อน เนื่องจากอยู่ในแผนเร่งรัด 4 ปีของรัฐบาล

ข้อความตัวอย่างที่ใช้แสดงผลฟอนต์ข้างต้น คัดลองมาจากวิกิพีเดีย